การทดลองที่ 4.3
การต่อวงจรตัวต้านทานไวแสงและตรวจวัดการเปลี่ยนแปลงของปริมาณแสง
1.ฝึกต่อวงจรโดยตัวต้านทานไวแสง (LDR) ร่วมกับไอซีเปรียบเทียบแรงดัน เบอร์ LM393N และใช้เป็น อุปกรณ์ตรวจจับการเปลี่ยนแปลงปริมาณแสง
รายการอุปกรณ์
- แผงต่อวงจร (เบรดบอร์ด) 1 อัน
- ไอซีเปรียบเทียบแรงดัน เบอร์ LM393N 1 ตัว
- ตัวต้านทานปรับค่าได้แบบสามขา ขนาด 10kΩ หรือ 20kΩ 1 ตัว
- ตัวต้านทานไวแสง 1 ตัว
- ตัวต้านทาน 330Ω หรือ 470Ω 1 ตัว
- ตัวต้านทาน 4.7kΩ 1 ตัว
- ตัวต้านทาน 10kΩ 1 ตัว
- ทรานซิสเตอร์ NPN เบอร์ PN2222A 1 ตัว
- สายไฟสําหรับต่อวงจร 1 ชุด
- มัลติมิเตอร์ 1 เครื่อง
1. ใช้มัลติมิเตอร์วัดค่าความต้านทานของตัวต้านทานไวแสง (LDR) ในสภาวะแสงที่แตกต่างกันในสาม ระดับ (ปริมาณแสงน้อย ปานกลาง และมาก) แล้วจดบันทึกค่าที่วัดได้ สังเกตการเปลี่ยนแปลงของค่า ความต้านทานเมื่อปริมาณแสงเปลี่ยน
2. ต่อวงจรบนเบรดบอร์ด ตามรูปที่ 4.3.1 แล้ววัดแรงดัน Vx ในสภาวะแสงที่แตกต่างกัน (ปริมาณแสง น้อย ปานกลาง มาก) แล้วจดบันทึกค่าที่วัดได้ สังเกตการเปลี่ยนแปลงของระดับแรงดันเมื่อปริมาณ แสงเปลี่ยน
ผังวงจรที่ 4.3.1 |
3. ต่อวงจรบนเบรดบอร์ด ตามรูปที่ 4.3.2 (แบบที่ 1) โดยใช้แรงดันไฟเลี้ยง VCC=+5V และ Gnd จาก แหล่งจ่ายแรงดันควบคุม ทดลองหมุนปรับค่าที่ตัวต้านทานปรับค่าได้ และวัดแรงดัน Vref ที่ได้ สังเกตสถานะติด/ดับของ LED
ผังวงจรที่ 4.3.2(แบบที่ 1) |
4. ต่อวงจรบนเบรดบอร์ด ตามรูปที่ 4.3.3 (แบบที่ 2) โดยใช้แรงดันไฟเลี้ยง VCC=+5V และ Gnd จากแหล่งจ่ายแรงดันควบคุม ทดลองหมุนปรับค่าที่ตัวต้านทานปรับค่าได้ และวัดแรงดัน Vref ที่ได้ สังเกตสถานะติด/ดับของ LED
ผังวงจรที่ 4.3.3 (แบบที่ 2) |
5. ต่อวงจรบนเบรดบอร์ด ตามรูปที่ 4.3.4 (แบบที่ 3) โดยใช้แรงดันไฟเลี้ยง +5V +9V และ Gnd จากแหล่งจ่ายแรงดันควบคุม ทดลองหมุนปรับค่าที่ตัวต้านทานปรับค่าได้ เพื่อให้ LED “สว่าง” เมื่อปริมาณแสงน้อย และให้ LED “ไม่ติด” เมื่อปริมาณแสงมาก
ผังวงจรที่ 4.3.4 (แบบที่ 3) |
ผลการทดลอง
ผลการทดลองข้อ 1
ปริมาณแสงที่ตัวต้านทานไวแสงได้รับ
|
ค่าความต้านทานทีวัดได้
|
น้อย
|
19.87 kΩ
|
ปานกลาง
|
2.68 kΩ
|
มาก
|
55 Ω
|
ผลการทดลองข้อ 2
ปริมาณแสงที่ตัวต้านทานไวแสงได้รับ
|
ค่าแรงดันทีวัดได้
|
น้อย
|
1.988 V
|
ปานกลาง
|
4.00 V
|
มาก
|
4.92 V
|
ผลการทดลองข้อ 3
รูปการต่อวงจรจริง |
การต่อวงจรด้วยโปรแกรม Fritzing |
การหมุนปรับตัวต้านทาน
|
แรงดันที่วัดได้จาก Vref
|
สถานะของหลอด LED
|
ซ้ายสุด
|
5.062 V
|
หลอด LED ติด
|
กลาง
|
3.927 V
|
หลอด LED ติดเมื่อ ตัวต้านทานไวแสงรับแสงน้อย
|
ขวาสุด
|
0 V
|
หลอด LED ดับ
|
เมื่อ Vref = 5.062 V หลอด LED จะติด โดยตัวต้านทานความไวแสง ไม่มีผล |
เมื่อค่า Vref = 3.927 V หลอด LED จะติด เมื่อตัวต้านทานความไวแสง ได้รับแสงน้อย |
เมื่อ Vref = 0 V หลอด LED จะดับ โดยตัวต้านทานความไวแสง ไม่มีผล |
ผลการทดลองข้อ 4
รูปการต่อวงจรจริง |
การต่อวงจรด้วยโปรแกรม Fritzing |
การหมุนปรับตัวต้านทาน
|
แรงดันที่วัดได้จาก Vref
|
สถานะของหลอด LED
|
ซ้ายสุด
|
5.081 V
|
หลอด LED ดับ
|
กลาง
|
1.235 – 3.548 V
|
หลอด LED ติดเมื่อ ตัวต้านทานไวแสงรับแสงน้อย
|
ขวาสุด
|
0 V
|
หลอด LED ติด
|
เมื่อ Vref = 5.083 V หลอด LED จะดับ โดยตัวต้านทานความไวแสง ไม่มีผล |
เมื่อค่า Vref อยู่ระหว่างช่วง 1.235 – 3.548 V หลอด LED จะติด เมื่อตัวต้านทานความไวแสง ได้รับแสงน้อย |
เมื่อ Vref = 0 V หลอด LED จะติด โดยตัวต้านทานความไวแสง ไม่มีผล |
ผลการทดลองข้อ 5
รูปการต่อวงจรจริง |
การหมุนปรับตัวต้านทาน
|
แรงดันที่วัดได้จาก Vref
|
สถานะของหลอด LED
|
ซ้ายสุด
|
5.083 V
|
หลอด LED ติด
|
กลาง
|
1.037 – 3.548 V
|
หลอด LED ติดเมื่อ ตัวต้านทานไวแสงรับแสงมาก
|
ขวาสุด
|
0 V
|
หลอด LED ดับ
|
เมื่อ Vref = 0 V หลอด LED จะดับ โดยตัวต้านทานความไวแสง ไม่มีผล |
เมื่อค่า Vref อยู่ระหว่างช่วง 1.037 – 3.548 V หลอด LED จะดับ เมื่อตัวต้านทานความไวแสง ได้รับแสงน้อย |
เมื่อ Vref = 5.083 V หลอด LED จะติด โดยตัวต้านทานความไวแสง ไม่มีผล |
1. ค่าความต้านทานของ LDR จะเปลี่ยนแปลงอย่างไร เมื่อปริมาณแสงเปลี่ยน และค่าความ ต้านทานของ LDR ที่ได้จากการทดลอง จะอยู่ในช่วงใด
ตอบ เมื่อปริมาณแสงเพิ่มมากขึ้น ค่าความต้านทานของ LDR จะลดน้อยลง โดยค่าความต้านทานของ LDR ที่ได้จากการทดลองอยู่ในช่วง 55 Ω - 19.87 kΩ
2. สําหรับวงจรแบบที่ 1 และ 2 แรงดัน Vx จะเปลี่ยนแปลงอย่างไร เมื่อปริมาณแสงเปลี่ยน (เปลี่ยนจากปริมาณแสงน้อยเป็นปริมาณแสงมาก)
2. สําหรับวงจรแบบที่ 1 และ 2 แรงดัน Vx จะเปลี่ยนแปลงอย่างไร เมื่อปริมาณแสงเปลี่ยน (เปลี่ยนจากปริมาณแสงน้อยเป็นปริมาณแสงมาก)
ตอบ แรงดัน Vx เพิ่มขึ้น เมื่อปริมาณแสงมาขึ้น ค่าความต้านทานของ LDR จะลดลง
3. สําหรับวงจรแบบที่ 3 การปรับค่าแรงดัน Vref โดยใช้ตัวต้านทานปรับค่าได้ในวงจร มีผลอย่างไร ต่อการติดหรือดับของ LED
ตอบ เมื่อปรับค่าความต้านทานให้ลดน้อยลง LED จะติด เมื่อปรับค่าความต้านทานให้เพิ่มมากขึ้น LED จะดับ
3. สําหรับวงจรแบบที่ 3 การปรับค่าแรงดัน Vref โดยใช้ตัวต้านทานปรับค่าได้ในวงจร มีผลอย่างไร ต่อการติดหรือดับของ LED
ตอบ เมื่อปรับค่าความต้านทานให้ลดน้อยลง LED จะติด เมื่อปรับค่าความต้านทานให้เพิ่มมากขึ้น LED จะดับ
อ้างอิง: เอกสารประกอบการสอน โดย ดร.เรวัต ศิริโภคาภิรมย์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น